คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

07/09/55

 -  เข้าอบรมเกี๋ยวกับอาเซียน


















           สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง



เตรียมเด็กปฐมวัย ก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียน


เตรียมตน เตรียมคน เตรียมงาน เตรียมความพร้อมของลูกหลานคือรากฐานของการพัฒนาคำกล่าวนี้ยังใช้ได้กับกระแสอาเซียนในขณะนี้  โดยเฉพาะการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับอาเซียนกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทการดำเนินงาน ด้านการต่างประเทศเชิงรุก โดยเน้นการกระชับความสัมพันธ์ และการขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และในภูมิภาคเอเชีย ภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่างๆ 
โดยเฉพาะกรอบความร่วมมือด้านการศึกษาและได้กำหนดนโยบายการขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่เป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

ดังนโยบายต่อไปนี้

       นโยบายที่1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารและเจตนคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน อัตลักษณ์อาเซียน และเตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาและประชาชนเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.2558
       นโยบายที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
       นโยบายที่ 3 การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน
       นโยบายที่ 4 การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 
       นโยบาย 5 การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยและภูมิภาค ในความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยการปรับปรุงในเชิงปริมาณ 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายโอกาสทางการศึกษา การยกระดับคุณภาพการศึกษา การนำโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยี การสื่อสารเข้ามารองรับ ตลอดจนการบริหารจัดการทางการศึกษา

ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้เร่งพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้รู้จักวัฒนธรรม  สังคม  ความเป็นอยู่ของเพื่อนอีก ประเทศ   ที่จะสามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ  โดยการดำเนินโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน (Spirit of ASEAN) เพื่อรองรับการรวมกลุ่มของประเทศอาเซียน ในปี 2558   เช่น  โรงเรียน Buffer School  เป็นโรงเรียนที่อยู่ติดชายแดนกับประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศ  ได้แก่  ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย  โรงเรียนSister School   เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อม มีความเข้มแข็งทั้งในเรื่องของภาษาและ ICT  ที่อยู่ในพื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่ติดชายแดน  แต่มีประสานสัมพันธ์กับอาเซียน ประเทศ  ได้แก่ เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบรูไนเป็นต้น

          สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเรื่องของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้ระดมความคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้บริหาสถาศึกษา ศึกษานิเทศก์  ครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกำหนดกรอบแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนเป็นการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน โดยการกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กไทยที่สอดรับกับประชาคมอาเซียน 

 การวิเคราะห์หลักสูตรในส่วนของอาเซียนศึกษา  การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้   เพื่อให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพและแข็งแกร่งในประชาคมอาเซียน

คุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน 

คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน กำหนดคุณลักษณะ ด้าน ดังนี้
     1. ด้านความรู้ 
            1.1 มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 
            1.2 มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน 
                    1.2.1 จุดกำเนิดอาเซียน
                    1.2.2 กฎบัตรอาเซียน
                    1.2.3 ประชาคมอาเซียน
                    1.2.4 ความสัมพันธ์กับภายนอกอาเซียน 
      2. ด้านทักษะ/กระบวนการ 
   2.1 ทักษะพื้นฐาน
                   2.1.1 สื่อสารได้อย่างน้อย ภาษา (ภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศเพื่อนบ้านอีกอย่างน้อย ภาษา)
                   2.1.2 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์
                   2.1.3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี
                   2.1.4 มีความสามารถในการทางานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
            2.2 ทักษะพลเมือง/ความรับผิดชอบทางสังคม
                   2.2.1 เคารพและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
                  2.2.2 มีภาวะผู้นา
                  2.2.3 เห็นปัญหาสังคมและลงมือทาเพื่อนาไปสู่การเปลี่ยนแปลง
          2.3 ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน
                  3.3.1 เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
                  3.3.2 มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                  3.3.3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีวิธีคิดอย่างถูกต้อง
                  3.3.4 มีความสามารถในการจัดการ / ควบคุมตนเอง
3. ด้านเจตคติ          3.1 มีความภูมิใจในความเป็นไทย/ ความเป็นอาเซียน
          3.2 ร่วมกันรับผิดชอบต่อประชาคมอาเซียน
          3.3 มีความตระหนักในความเป็นอาเซียน
          3.4 มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล สันติวิธี /สันติธรรม
          3.5 ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนา
          3.6 ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คุณลักษณะเด็กปฐมวัยก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียน

          เมื่อเราได้ทราบถึงคุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน การเตรียมเด็กปฐมวัย ก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียนในส่วนของปฐมวัย ขอให้เรายึดเป้าหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้ชัดเจน  ให้เด็กปฐมวัยของไทยเราได้รับการส่งเสริมพัฒนาการให้พร้อมทุกด้าน  และสิ่งที่ควรปลูกฝังให้กับเด็กปฐมวัยของเรา คือ ทักษะการคิด วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา มีเหตุผล มีทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต และที่สำคัญมีความรักในความเป็นไทยให้มากขึ้น

จากหลักการและแนวคิดสู่การนำไปใช้

การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศและของอาเซียนนั้น เราสามารถบูรนาการกิจกรรมในสาระที่ควรเรียนรู้ทั้ง 4 สาระ / เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็กเช่น ฉันมีชื่อ นามสกุล เพื่อนๆสมาชิกอาเซียนก็มีชื่อ ฉันเรียนรู้ข้อตกลงต่างๆเพื่อนๆสมาชิกอาเซียน ฯลฯ /เรื่องเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ฉันมีชุมชน  วัฒนธรรม สถานที่ ที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เพื่อนๆสมาชิกอาเซียนก็มี ฯลฯ /ธรรมชาติรอบตัว ฉันมีสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากมายทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เพื่อนๆสมาชิกอาเซียนมีอะไรบ้างฯลฯ /สิ่งต่างๆรอบตัว ฉันเดินทางไปที่ต่างๆทั้งในประเทศและนอกประเทศได้  โดยทางเรือ  เครื่องบิน   รถไฟ และเรียนรู้แผนที่ในการเดินทางไปยังประเทศอาเซียนได้ ฯลฯ  จากสาระที่กล่าวมาทั้งหมด สามารถบูรณาการในกิจกรรมหลักตามตารางประจำวัน เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เช่น เล่าเรื่องจากภาพ  ให้เด็กเรียนรู้ตำแหน่งของประเทศ โดยดูจากลูกโลก  แผนที่   จัดหนังสือภาพอาเซียนในมุมหนังสือ  จัดป้ายนิเทศ  กิจกรรมเกมการศึกษา  จับคู่การแต่งกายกับบัตรคำประเทศ  จับคู่ธงชาติ กับบัตรคำ หรือ คน  กิจกรรมสร้างสรรค์ ประดิษฐ์ธงประจำชาติอาเซียน ระบายสีภาพดอกไม้ประจำชาติอาเซียน ปั้นดินน้ำมันทำแผนที่จำลองฯ กิจกรรมเสรีเล่นตามมุมแสดงบทบาทสมมติตามมุมอาเซียน  เล่มในมุมหนังสือ เล่นสร้างประเทศสมาชิกอาเซียนจากไม้บล็อกฯ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแสดงท่าทางประกอบเพลงอาเซียน  แสดงการร้องเล่นเต้นเลียนแบบการเต้นแต่ละประเทศฯ กิจกรรมกลางแจ้ง ลองเล่นกลางแจ้งแบบเด็กแต่ละประเทศในอาเซียน นอกเหนือจากกิจกรรมหลักแล้วครูสามารถพาเด็กปฐมวัยศึกษานอกสถานที่ ชมนิทรรศการเกี่ยวกับอาเซียน จัดกิจกรรมโครงการหรือโครงงาน อาเซียน ถ้าเด็กสนใจ ฯ

จากสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไทยไปสู่สังคมอาเซียนในฐานะสมาชิกของอาเซียนประเทศหนึ่ง เด็กปฐมวัยของเราจะก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียนที่มีคุณภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ ครู  ผู้ปกครอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ร่วมมือกันเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยอย่างจริงจัง จากคำกล่าวที่ว่า ไทยจะเป็นผู้นำอาเซียน ก็คงเป็นไปได้ไม่ยาก



เครดิตโดย ปากกาปฐมวัย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น