คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

21/09/55

เพลงที่่ช่วยในการส่งเสริมภาษาเด็กปฐมวัย



มาฝึกออกเสียงสระอีกับสระอู ด้วยเสียงเพลงกันนะคะเด็กๆ



เพลง เสียงอี

                                  

ดินสอสี   ฉันมีหลายสี 
ระบายสวยดี   เด็กดีสุขขี  
บางทีเราเล่นดนตรี   บางทีท่องบทกวี
 สุขเกษมเปรมปรีดิ์   
ดี๊  ดี  ดี๊  ดี



เพลง เสียง อ

                                     

คุณ ครู  เป็น   ให้  ความ 
หน หน  อย่า  มัว  อด ส
ใฝ่  หา  ความ ร   ใช้  ห  คอย  ฟัง
สาย ตา  หน  คอย มอง ด
คุณ คร  ท่าน  สอน  หน  อย   
ดอ  อ  ด
ปอ  อ  ป
















21/09/55

-  อาจารย์ได้ตรวจบล็อกของแต่ละคน   แล้วอธิบายการทำบล็อกที่ถูกต้อง


การเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้

      การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย และผลต่อพัฒนาการที่จะตามมา ในขณะที่ผู้ผลิตของเล่นต่างแข่งขันผลิตออกมาขายจำนวนมาก บางครั้งผู้บริโภคไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์ใดที่เหมาะกับเด็ก หรือแม้แต่คำอธิบายจากตัวสินค้าก็ไม่ละเอียดพอที่จะเข้าใจ ทำให้บางคนซื้อของเล่น ให้ลูกเพราะคิดว่ามันน่าจะดีเท่านั้น




       รศ.ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายว่า ช่วงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ถือได้ว่าเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกๆ ด้านของมนุษย์ ทั้งนี้ การเล่นและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย นับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นและของเล่นที่เหมาะสม


          รศ.ดร.จิตตินันท์ บอกว่า เด็กปฐมวัยจะมีความสุขสนุกสนานกับการเล่นในชีวิตประจำวันตามความสนใจ และความพอใจของตนเอง ขณะที่เล่นนั้นเด็กได้ใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการสำรวจคุณสมบัติของสิ่งที่เล่น ไม่ว่าจะเป็นคนที่เล่นด้วยหรือวัตถุสิ่งของหรือของเล่น พร้อม ๆ ไปกับการรับรู้สิ่งที่เล่นผ่านอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการทำงานของสมองในการจดจำเป็นข้อมูลความคิดความเข้าใจต่อสิ่งนั้น


        "เด็กจะค่อยๆซึมซับและเรียนรู้สิ่งต่างๆผ่านปฏิสัมพันธ์กับคนเล่นหรือของเล่น โดยเฉพาะเมื่อเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองและมีผู้คอยชี้แนะให้ข้อมูลหรือสอนให้รู้จักคำบอกของชื่อเรียกสิ่งต่างๆรอบตัว หรือความหมายของสิ่งเหล่านั้นทีละเล็กละน้อย จากเรื่องที่ง่ายๆไปสู่เรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น ตามความสามารถของวัย" การเลือกของเล่นที่ดีเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตามศักยภาพของเด็ก จึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากของเล่นเป็นสื่อกลางช่วยเปิดโลกภายในของเด็กออกสู่ภายนอก ทำให้เด็กได้ค้นพบความสามารถหรือความถนัดของตนเองด้วยตนเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้น ทว่าการเล่นของเล่นจะปราศจากความหมาย หากเด็กไม่ได้รับความสนใจเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดในการดูแลเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนการชี้แนะหรือเล่นร่วมกับเด็กเมื่อเด็กต้องการ


        รศ.ดร.จิตตินันท์ ได้อธิบายถึงพฤติกรรมการเล่นของเด็ก ว่า เด็กวัย 0-1 ปี เด็กวัยนี้ในช่วงแรกเกิด - 3 เดือน จะยังไม่สนใจกับการเล่นมากนัก แต่เด็กจะเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสการมองเห็นและการได้ยิน การแขวนของเล่นที่สดใสที่แกว่งไกวแล้วมีเสียงกรุ๋งกริ๋งช่วยให้เด็กกรอกสายตา


          ส่วนเด็กวัย 1-2 ปี เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองบ้างแม้จะไม่มั่นคงนักแต่ก็ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ของเล่นควรเป็นประเภทที่ลากจูงไปมาได้ ประเภทรถไฟหรือรถลากสำหรับเด็กวัย 2-4 ปี เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดีเพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงขึ้นมาก ทำให้ชอบเล่นที่ออกแรงมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่าย ม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อ


           ส่วนเด็กวัย 4-6 ปี เด็กวัยนี้มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ชอบเล่นกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนามและเครื่องเล่นที่มีลูกล้อขับขี่ได้ เด็กพอใจที่จะเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มมากขึ้น นอกจากนี้
กิจกรรมการเล่นที่เหมาะสม ในเด็กวัย 0 - 1 ปี ควรจัดให้เป็นการเล่นหยอกล้อเด็กด้วยคำคล้องจองมีการแสดงสีหน้าท่าทางและใช้เสียงสูง ๆ ต่ำ ให้เด็กสนใจ เช่น การเล่นปูไต่ การเล่นจ๊ะเอ๋ การเล่นจับปูดำ การเล่นซ่อนหาของ เป็นต้น


             ส่วนเด็กวัย 1-2 ปี ควรจัดให้เป็นการเล่นสำรวจที่ใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การให้เด็กบริหารแขนขา การเล่นดิน-ทราย-น้ำ การหยิบของตามคำบอก เป็นต้น

             เด็กวัย 2-4 ปี ควรจัดให้เด็กใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือผลงานทางศิลปะ เช่น การเล่นเป็นพ่อแม่ การเล่นขายของ การเล่นสร้างงานศิลปะ เป็นต้น

              เด็ก4-6 ปี ควรจัดให้เป็นการเล่นที่เด็กสามารถสะท้อนความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ เช่น การวาดภาพและเล่าเรื่องราว การแสดงบทบาทสมมติ การเล่นที่ใช้ทักษะการสังเกตเปรียบเทียบ

         รศ.ดร.จิตตินันท์ แนะนำหลักการเลือกของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างง่ายๆ 4 ข้อคือ


         1. ต้องดูที่ความปลอดภัยในการเล่นของเล่นอาจทำด้วยไม้ ผ้า พลาสติก หรือโลหะที่ไม่มีอันตรายเกี่ยวกับผิวสัมผัสที่แหลมคมหรือมีชิ้นส่วนที่หลุดหรือแตกหักง่าย ตลอดจนทำด้วยวัสดุที่ไม่มีพิษมีภัยต่อเด็ก

         2.ประโยชน์ในการเล่น ของเล่นที่ดีควรช่วยเร้าความสนใจของเด็กให้อยากรู้อยากเห็น มีสีสันสวยงามสะดุดตาเด็ก มีการออกแบบที่ส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการ ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว

          3.ประสิทธิภาพในการใช้เล่น ควรมีความยากง่ายเหมาะกับระดับอายุและความสามารถตามพัฒนาการของเด็ก ของเล่นที่ยากเกินไปจะบั่นทอนความสนใจในการเล่นของเด็กและทำให้เด็กรู้สึกท้อถอยได้ง่าย ส่วนของเล่นที่ง่ายเกินไปก็ทำให้เด็กเบื่อไม่อยากเล่นได้

           4.ความประหยัดทรัพยากร ของเล่นที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงหรือผลิต


             ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยยกตัวอย่างของเล่นที่ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวและการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น เครื่องเล่นสนามประเภท เสาชิงช้า ราวโหน ไม้ลื่น ไม้กระดาน อุโมงค์ บ่อทราย เครื่องเล่นที่มีล้อเลื่อนได้ เป็นต้น ของเล่นที่ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือและนิ้วมือ เช่น ของเล่นประเภทบีบ ตี เขย่า สั่น หมุน บิด ดึง โยน ผลัก เลื่อน เป็นต้น ของเล่นที่ฝึกทักษะการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน เช่น ของเล่นประเภทตอก กด ตี ปัก เย็บ ผูก กระดานปักหมุด ผูกเชือก ผูกโบว์ กรอกน้ำใส่ขวด เป็นต้น ของเล่นที่พัฒนาทักษะทางภาษา เช่น ภาพสัตว์ ผลไม้ ตัวพยัญชนะ เทปเพลง เป็นต้น ของเล่นที่ฝึกการสังเกต เช่น โดมิโน กระดานต่อภาพ กล่องหยอดบล็อกต่าง ๆ เป็นต้น ของเล่นที่ฝึกทักษะการแก้ปัญหาและใช้สมาธิ เช่น ภาพตัดต่อ ของเล่นชิ้นส่วนที่ประกอบเป็นสิ่งต่าง ๆ เกมค้นหาชิ้นส่วนที่หายไป เป็นต้นจะเห็นได้ว่าการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัยมีความหมายและความสำคัญต่อชีวิตเด็กอย่างมาก โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการเล่น ถือเป็นรากฐาน (foundation) ที่สะสมเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นในช่วงวัยต่อๆมา เด็กที่ขาดโอกาสในการเล่น หรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการเล่น ย่อมมีโอกาสที่จะประสบปัญหาในการเรียนรู้และมีพัฒนาการล่าช้าได้

นำเสนอบทความโดย กระทรวงศึกษาธิการ
เรียบเรียงโดย www.พัฒนาการเด็ก.com

14/09/55

     นำเสนอต่อจากวันที่่ 31/08/55



มีกลุ่มที่นำเสนอเพลง ดังนี้ 
กลุ่ม อันอัน เพลง เด็กน้อยน่ารัก
เด็ก เด็กที่น่ารัก หนูจงตั้งใจอ่านเขียน
ตอนเช้าหนูมาโรงเรียน (ซ้ำ)
หนูจงพากเพียรและขยันเรียนเอย 


กลุ่ม มด เพลง นกน้อย
นกตัวน้อยน้อย บินล่องลอยตามสายชล
เด็กเด็ก พากันมาชื่นชม ช่างสุขสมอารมณ์จริงเอย
ลา ลั้น ล้า ลา ลัน ล้า ลา ล่า ลา


กลุ่ม พราว เพลง ตาหูจมูก
ดวงตาฉันอยู่ที่ไหน รู้ไมช่วยบอกฉันที
ดวงตาฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
ใบหูฉันอยู่ที่ไหน รู้ไหมช่วยบอกฉันที
ใบหูฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
จมูกฉัันอยู่ที่ไหน รู้ไหมช่วยบอกฉันที
จมูกฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง (ซ้ำ) 


กลุ่ม อ๊อฟ เพลง กินผัก ผลไม้
กินผักแล้วมีประโยชน์ ไม่เคยมีโทษมีแต่วิตามิน
เกลือแร่ก็มีมากมาย อีกทั้งกากใยถูกใจจริงจริง
กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน
ของดีล้วนล้วนไม่ควรเขี่ยทิ้ง

หลังจากนำเสนอเพลงเสร็จ  ก็นำเสนอเล่านิทานโดยมีเทคนิคดังนี้
เล่าไปตัดไป
เล่าไปพับไป
เล่าไปวาดไป
เล่าไปฉีกไป
เล่ากับเชือก







07/09/55

 -  เข้าอบรมเกี๋ยวกับอาเซียน


















           สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง



เตรียมเด็กปฐมวัย ก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียน


เตรียมตน เตรียมคน เตรียมงาน เตรียมความพร้อมของลูกหลานคือรากฐานของการพัฒนาคำกล่าวนี้ยังใช้ได้กับกระแสอาเซียนในขณะนี้  โดยเฉพาะการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับอาเซียนกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทการดำเนินงาน ด้านการต่างประเทศเชิงรุก โดยเน้นการกระชับความสัมพันธ์ และการขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และในภูมิภาคเอเชีย ภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่างๆ 
โดยเฉพาะกรอบความร่วมมือด้านการศึกษาและได้กำหนดนโยบายการขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่เป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

ดังนโยบายต่อไปนี้

       นโยบายที่1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารและเจตนคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน อัตลักษณ์อาเซียน และเตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาและประชาชนเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.2558
       นโยบายที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
       นโยบายที่ 3 การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน
       นโยบายที่ 4 การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 
       นโยบาย 5 การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยและภูมิภาค ในความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยการปรับปรุงในเชิงปริมาณ 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายโอกาสทางการศึกษา การยกระดับคุณภาพการศึกษา การนำโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยี การสื่อสารเข้ามารองรับ ตลอดจนการบริหารจัดการทางการศึกษา

ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้เร่งพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้รู้จักวัฒนธรรม  สังคม  ความเป็นอยู่ของเพื่อนอีก ประเทศ   ที่จะสามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ  โดยการดำเนินโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน (Spirit of ASEAN) เพื่อรองรับการรวมกลุ่มของประเทศอาเซียน ในปี 2558   เช่น  โรงเรียน Buffer School  เป็นโรงเรียนที่อยู่ติดชายแดนกับประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศ  ได้แก่  ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย  โรงเรียนSister School   เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อม มีความเข้มแข็งทั้งในเรื่องของภาษาและ ICT  ที่อยู่ในพื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่ติดชายแดน  แต่มีประสานสัมพันธ์กับอาเซียน ประเทศ  ได้แก่ เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบรูไนเป็นต้น

          สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเรื่องของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้ระดมความคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้บริหาสถาศึกษา ศึกษานิเทศก์  ครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกำหนดกรอบแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนเป็นการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน โดยการกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กไทยที่สอดรับกับประชาคมอาเซียน 

 การวิเคราะห์หลักสูตรในส่วนของอาเซียนศึกษา  การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้   เพื่อให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพและแข็งแกร่งในประชาคมอาเซียน

คุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน 

คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน กำหนดคุณลักษณะ ด้าน ดังนี้
     1. ด้านความรู้ 
            1.1 มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 
            1.2 มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน 
                    1.2.1 จุดกำเนิดอาเซียน
                    1.2.2 กฎบัตรอาเซียน
                    1.2.3 ประชาคมอาเซียน
                    1.2.4 ความสัมพันธ์กับภายนอกอาเซียน 
      2. ด้านทักษะ/กระบวนการ 
   2.1 ทักษะพื้นฐาน
                   2.1.1 สื่อสารได้อย่างน้อย ภาษา (ภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศเพื่อนบ้านอีกอย่างน้อย ภาษา)
                   2.1.2 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์
                   2.1.3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี
                   2.1.4 มีความสามารถในการทางานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
            2.2 ทักษะพลเมือง/ความรับผิดชอบทางสังคม
                   2.2.1 เคารพและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
                  2.2.2 มีภาวะผู้นา
                  2.2.3 เห็นปัญหาสังคมและลงมือทาเพื่อนาไปสู่การเปลี่ยนแปลง
          2.3 ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน
                  3.3.1 เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
                  3.3.2 มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                  3.3.3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีวิธีคิดอย่างถูกต้อง
                  3.3.4 มีความสามารถในการจัดการ / ควบคุมตนเอง
3. ด้านเจตคติ          3.1 มีความภูมิใจในความเป็นไทย/ ความเป็นอาเซียน
          3.2 ร่วมกันรับผิดชอบต่อประชาคมอาเซียน
          3.3 มีความตระหนักในความเป็นอาเซียน
          3.4 มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล สันติวิธี /สันติธรรม
          3.5 ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนา
          3.6 ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คุณลักษณะเด็กปฐมวัยก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียน

          เมื่อเราได้ทราบถึงคุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน การเตรียมเด็กปฐมวัย ก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียนในส่วนของปฐมวัย ขอให้เรายึดเป้าหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้ชัดเจน  ให้เด็กปฐมวัยของไทยเราได้รับการส่งเสริมพัฒนาการให้พร้อมทุกด้าน  และสิ่งที่ควรปลูกฝังให้กับเด็กปฐมวัยของเรา คือ ทักษะการคิด วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา มีเหตุผล มีทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต และที่สำคัญมีความรักในความเป็นไทยให้มากขึ้น

จากหลักการและแนวคิดสู่การนำไปใช้

การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศและของอาเซียนนั้น เราสามารถบูรนาการกิจกรรมในสาระที่ควรเรียนรู้ทั้ง 4 สาระ / เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็กเช่น ฉันมีชื่อ นามสกุล เพื่อนๆสมาชิกอาเซียนก็มีชื่อ ฉันเรียนรู้ข้อตกลงต่างๆเพื่อนๆสมาชิกอาเซียน ฯลฯ /เรื่องเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ฉันมีชุมชน  วัฒนธรรม สถานที่ ที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เพื่อนๆสมาชิกอาเซียนก็มี ฯลฯ /ธรรมชาติรอบตัว ฉันมีสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากมายทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เพื่อนๆสมาชิกอาเซียนมีอะไรบ้างฯลฯ /สิ่งต่างๆรอบตัว ฉันเดินทางไปที่ต่างๆทั้งในประเทศและนอกประเทศได้  โดยทางเรือ  เครื่องบิน   รถไฟ และเรียนรู้แผนที่ในการเดินทางไปยังประเทศอาเซียนได้ ฯลฯ  จากสาระที่กล่าวมาทั้งหมด สามารถบูรณาการในกิจกรรมหลักตามตารางประจำวัน เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เช่น เล่าเรื่องจากภาพ  ให้เด็กเรียนรู้ตำแหน่งของประเทศ โดยดูจากลูกโลก  แผนที่   จัดหนังสือภาพอาเซียนในมุมหนังสือ  จัดป้ายนิเทศ  กิจกรรมเกมการศึกษา  จับคู่การแต่งกายกับบัตรคำประเทศ  จับคู่ธงชาติ กับบัตรคำ หรือ คน  กิจกรรมสร้างสรรค์ ประดิษฐ์ธงประจำชาติอาเซียน ระบายสีภาพดอกไม้ประจำชาติอาเซียน ปั้นดินน้ำมันทำแผนที่จำลองฯ กิจกรรมเสรีเล่นตามมุมแสดงบทบาทสมมติตามมุมอาเซียน  เล่มในมุมหนังสือ เล่นสร้างประเทศสมาชิกอาเซียนจากไม้บล็อกฯ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแสดงท่าทางประกอบเพลงอาเซียน  แสดงการร้องเล่นเต้นเลียนแบบการเต้นแต่ละประเทศฯ กิจกรรมกลางแจ้ง ลองเล่นกลางแจ้งแบบเด็กแต่ละประเทศในอาเซียน นอกเหนือจากกิจกรรมหลักแล้วครูสามารถพาเด็กปฐมวัยศึกษานอกสถานที่ ชมนิทรรศการเกี่ยวกับอาเซียน จัดกิจกรรมโครงการหรือโครงงาน อาเซียน ถ้าเด็กสนใจ ฯ

จากสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไทยไปสู่สังคมอาเซียนในฐานะสมาชิกของอาเซียนประเทศหนึ่ง เด็กปฐมวัยของเราจะก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียนที่มีคุณภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ ครู  ผู้ปกครอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ร่วมมือกันเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยอย่างจริงจัง จากคำกล่าวที่ว่า ไทยจะเป็นผู้นำอาเซียน ก็คงเป็นไปได้ไม่ยาก



เครดิตโดย ปากกาปฐมวัย




31/08/55

  อาจารย์ให้จับคู่แต่งคำขวัญเลิกเหล้าเข้าพรรษา


กลุ่ม จ : รู้ทั้งรู้..สุราทำลายจิต  คิดสักนิดก่อนดื่มมัน
------กลุ่ม ว : รักครอบครัว  รักชีวิต คิดสักนิดก่อนดื่มเหล้า..นะจ๊ะ
------กลุ่ม ส : เลิกเหล้า  เลิกจน..เทิดไท้องค์ราชันย์
------กลุ่ม พ : เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
------กลุ่ม ธ,ท : เลิกเถอะ!!..สุรามีพิษร้าย อันตรายถึงชีวิต
------กุล่ม น : สุราคือชีวิต เลิกเถิดก่อนชีวิตจะวอดวายเพื่อสายใยในครอบครัว
------กลุ่ม ป : เลิกดื่ม เลิกเหล้า เลิกจน รวยจริงๆนะพี่
------กลุ่ม ย : พี่จ๋า..รักชีวิต รักครอบครัว อย่ามัวเมาสุรา..น้องขอร้อง
------กลุ่ม ต : บุรุษสตรีชะนีข้ามเพศ..โปรดเลิกเหล้าเพื่อให้ทาน เลิกพาลด้วยการเลิกดื่มเหล้า
------กลุ่ม ร : เพื่อนเอย..เหล้าเบียคือยาพิษ อย่าหลงผิดริอาจลอง
------กลุ่ม ด : ถ้ารักน้องจริง เลิกเหล้า เลิกจน เริ่มมีสติ เพื่ออนาคตของเรา
------กลุ่ม ม : คิดสักนิด..ดื่มเหล้า เสียตังค์ เสียสติ
------กลุ่ม ช : พ่อจ๋า..สุราทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดดื่มสุรา หนูจะพาพ่อดื่มนม
------กลุ่ม ถ : อยากให้พี่เพิ่มอายุ เพิ่มชีวิต ด้วยการไม่ดื่มสุรา
------กลุ่ม พ : โปรดหยุด!..เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
------กลุ่ม บ : ประกาศ..ช่วงนี้ชี้แนะ..งดเหล้าออกพรรษา ปีศาจสุราไม่ครองเมือง
------กลุ่ม ล : มาพวกเรามา คว่ำแก้วเลิกเหล้า ครอบครัวมีความ


กลุ่มของดิฉันได้แต่ง เพลง เป็ดอาบน้ำฝักบัว
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ 
เป็ดอาบน้ำฝักบัว ถูสบู่ตามตัว 
ล้างหน้าๆ แปรงฟัง เป็ดอาบน้ำฝักบัว 
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ



กลุ่มปักเป้าได้แต่งเพลง ผีเสื้อของเรา
ลดพัดแรง ลมพัดเบา
ผีเสื้อของเรา บินมาตรงนี้
ดูให้ดีว่ามีกี่ตัว ดูให้ดีว่ามีกี่ตัว
1 ตัว 2 ตัว 3 ตัว 4 ตัว 5 ตัว 6 ตัว 7 ตัว 8 ตัว 9 ตัว 10 ตัว



กลุ่มของนก เพลงดื่มนมกันเถอะ
เด็กเด็ก ดื่มนมกันนะ ดื่มนมกันนะ ร่างกายแข็งแรง
มีทั้งนมหวาน นมจืด มีทั้งนมหวานนมจืด
มาซิมา มาดื่มนมกันเถอะ นะ
มาซิมา มาดื่มนมกันเถอะ นะ


>>>>กลุ่มของเพลง  เพลงเพื่อน                  
เพื่อนเพื่อนฉันมีมากมาย ทั้งชายทั้งหญิงปะปน
ในห้องนั้นมีหลายคน เพื่อนเพื่อนทุกคนเล่นกันสนุกดี
เล่นกัน เล่นกัน สนุกดี เล่นกัน เล่นกัน สนุกดี


>>>>กลุ่มของเฟิร์น เพลง สัตว์อะไร
จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอบคุณครู (ซ้ำ)
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอบคุณครู (ซ้ำ)
แปล๊น แปล๊น แปล๊น แปล๊น แปล๊น เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอยคุณครู (ซ้ำ)


>>>>กลุ่มของแอน    เพลง บ้านหนูอยู่ไหนจ๊ะ
หนูจ๋า บ้านหนูอยู่ไหน มีอะไรน่าสนใจบ้าง
คุณครู นั้นอยากรู้จัง เล่าให้ฟังบ้างได้ไหม
ทำท่าให้ดูก็ได้ ท่าอะไรก็ตามใจหนู 
ลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลา


>>>>กลุ่มของ เอ๋ย เพลง เด็กเ็ด็กตั้งใจเรียน
ทุกทุกวันแต่เช้า... พวกเรารีบมาโรงเรียน
มาฝึกอ่านฝึกเขียน นั่งเรียนกันอย่างตั้งใจ
ABC ครูสอน ..... พอถึงตอนพยัญชนะไทย
เราสนุกสดใส ตั้งใจ ตั้งใจ นั่งเรียน


>>>>กลุ่มของดาว เพลง อู๊ด...อู๊ด..
ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก ขอนมเพิ่มอีกนะ อู๊ด อู๊ด  
เอาไปเลยจ๊ะ แม่หมูบอก ดื่มให้หมดแล้วร้อง อู๊ด อู๊ด
ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก ออกไปเล่นข้างนอกกันเถอะ อู๊ด อู๊ด
ไปไม่ได้จ๊ะต้องทานข้าวก่อน ทานข้าวให้หมดจานก่อน อู๊ด อู๊ด
ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก เริ่มง่วงนอนแล้วสิ อู๊ด อู๊ด
นอนไม่ได้จ๊ะ แม่หมูบอก แปรงฟันก่อนเข้า นอน อู๊ด อู๊ด


 >>>>กลุ่มของบุ๋ม เพลง สบายตัว สบายใจ
อาบน้ำแล้วสบายตัว สระผมแล้วสบายใจ
แปรงฟัน แล้วยิ้มสดใส 
ดูซิดู ฟันขาว สะอาดจัง 
ดูซิดู ฟันขาว สะอาดจัง
>>>>กลุ่มของนิด เพลง ออกกำลังกาย
เต้น เต้น เต้น เรามาเต้น เต้นออกกำลัง
เต้นแล้วจะมีพลัง เต้นแล้วจะมีพลัง 
เต้น สนุกจัง ร่างกายแข็งแรง เย้ๆ
>>>>กลุ่มของเมย์ เพลง หนูจ๋า
หนูจ๋่า รีบมาโรงเรียน รีบมาโรงเรียน
มาฟังคุณครู มาเรียนจะได้ความรู้
มาสิมาดู มาเล่นด้วยกัน
ลั้ล ลาลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา


>>>>กลุ่มของกวาง เพลง ดื่มนม
ฉันอยากดื่ม นมมันเนย ฉันอยากโตไวไว
ฉันชอบดื่ม รสจืดจืด รสชาติก็อร่อย
ลองสักแก้วเหมือนฉันเอาไหม ไม่ไม่ไม่เราไม่โอเค
ลองสักแก้วเหมือนฉันเอาไหม ได้ได้ได้เราชอบเหมือนกัน
งั้นมาดื่ม นมกันเถอะ จะได้สูง เหมือนครู


>>>>กลุ่มของบี เพลง เต่า
เต่า เต่า เต่า
เต่า อาบน้ำในนา
ตาก็จ้องมองหา
ผักบุ้งนานั้น อยู่หนใด